วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ชนิดของรูปคลื่น

1. รูปคลื่นซายน์ (Sinusoidal)
เป็นรูปสัญญาณทางไฟฟ้าที่พบเห็นมากในการทดลอง ซึ่งจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ครึ่งคลื่น( Half Wave ) และเต็มคลื่น (Full Wave) ดังแสดงในรูป 1
clip_image001
(ก)
clip_image002
(ข)
รูปภาพ 1 แสดงรูปคลื่นซายน์ที่ได้จากการตัดรูปคลื่น
(ก) รูปคลื่นซายน์แบบครึ่งคลื่น ( Half Wave )
(ข) รูปคลื่นซายน์แบบเต็มคลื่น ( Full Wave )
2. รูปคลื่นสี่เหลี่ยม ( Rectangular )
คลื่นสี่เหลี่ยมเกิดจากระดับของแรงดันไฟตรง ที่เปลี่ยนแปลงเป็นขั้น ( Step Changes) หรือรูปคลื่นขั้นบันไดสองลักษณะคือ Positive -going Step และ Negative - going Step ดังรูป (ก) รูปคลื่นสี่เหลี่ยมที่มีการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาด้านบวกของสัญญาณ (t1) และคาบเวลาด้านลบ (t2) เท่ากันเราเรียกว่ารูปคลื่นจัตุรัส ( Square Wave ) ดังแสดงในรูป (ข) ถ้ารูปคลื่นสี่เหลี่ยมที่มีการเปลี่ยนแปลงคาบเวลาด้านบวกของสัญญาณ (t1) และคาบเวลาด้านลบ (t2) ไม่เท่ากันเราเรียกรูปคลื่นนี้ว่า รูปคลื่นพัลส์ ( Pulse Waveforms ) ดังแสดงในรูป (ค)
clip_image003
(ก)
clip_image004
(ข)
clip_image005clip_image006
(ค)
รูปทีภาพ2 แสดงรูปคลื่นสี่เหลี่ยมแบบต่างๆ
(ก) รูปคลื่นขั้นบันไดสองลักษณะคือ Positive-going Step และ Negative -going Step
(ข) รูปคลื่นจัตุรัส ( Square Wave )
(ค) รูปคลื่นพัลส์ ( Pulse Waveforms )
3. รูปคลื่นเอียง ( Ramp )
เป็นรูปคลื่นที่ประกอบจากลักษณะของรูปคลื่นสัญญาณแรงดัน ที่มีความลาดเอียงด้านบวก ( Positive-going Ramp ) และรูปคลื่นที่ลาดเอียงทางด้านลบ ( Negative-going Ramp ) ดังแสดงในรูป 3 (ก) ถ้าความลาดเอียงของสัญญาณทั้งสองเท่ากันเราเรียกว่ารูปคลื่นสามเหลี่ยม ( Triangular Wave ) ดังรูปที่ 3 (ข) และถ้าความลาดเอียงของสัญญาณทั้งสองไม่เท่ากันเรียกว่ารูปคลื่นฟันเลื่อย( Sawtooth Waveforms ) ดังรูป 3 (ค)
clip_image007
(ก)
clip_image008
(ข)
clip_image009clip_image010
(ค)
รูปทีภาพ3 แสดงรูปคลื่นเอียงแบบต่างๆ
(ก) คลื่นสัญญาณแรงดันลาดเอียงด้านบวก(Positive-going Ramp) และรูปคลื่นที่ลาดเอียงทางด้านลบ(Negative-going Ramp
(ข) รูปคลื่นสามเหลี่ยม ( Triangular Wave )
(ค) รูปคลื่นฟันเลื่อย ( Sawtooth Waveforms )
4. รูปคลื่นเอกซ์โพเนนเชียล ( Exponential )
เป็นรูปคลื่นพัลส์บางกรณีที่เกิดจากการเก็บประจุและคายประจุของคาปาซิเตอร์ ดังรูป (ก) จะทำให้เกิดคลื่นเอกโพเนนเชียลแบบ Positive -going และคลื่นเอกโพเนนเชียลแบบ Negaitive-going ดังรูป  (ข) และถ้านำคลื่นเอกโพเนนเชียลผสมกับรูปคลื่นขั้นบันไดจะได้รูปคลื่นดังรูป (ค) และ (ง)
clip_image011
(ก)
clip_image012
clip_image013
clip_image014
รูปที่ภาพ4 รูปแสดงองค์ประกอบของคลื่นเอกโพเนนเชียลแบบต่างๆ
(ก) คลื่นพัลส์ที่เกิดจากการเก็บประจุและคายประจุของคาปาซิสเตอร์
(ข) คลื่นเอกโพเนนเชียลแบบ Positive -going
(ค) และคลื่นเอกโพเนนเชียลแบบ Negative -going
(ง) คลื่นเอกโพเนนเชียลผสมกับรูปคลื่นขั้นบันได
5. สัญญาณพัลส์
สัญญาณพัลส์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก ระดับของสัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงจากระดับหนึ่ง ไปสู่อีกระดับหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกัน ระหว่างแรงดันต่ำสุดกับแรงดันสูงสุด อย่างรวดเร็ว อาจมีความต่อเนื่องหรือไม่ ก็ได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สัญญาณพัลส์บวก และสัญญาณพัลส์ลบ แสดงดังรูป
()                                                                                           ()
clip_image015








(ก) สัญญาณพัลส์บวก (ข) สัญญาณพัลส์ลบ
5.1 ส่วนประกอบของสัญญาณพัลส์และพารามิเตอร์
ส่วนประกอบของสัญญาณพัลส์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
5.1.1. ระดับสัญญาณหรือแอมปลิจูด หมายถึงขนาดของสัญญาณที่วัดจากระดับสัญญาณต่ำ มายังระดับสัญญาณสูง หรือจากยอดของสัญญาณมายังเส้นอ้างอิง
5.1.2. ขอบขาของสัญญาณ มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ
5.1.3.ขอบขาขึ้นของสัญญาณหมายถึงขอบขา ของสัญญาณที่เปลี่ยนสัญญาณจากระดับต่ำไปยังระดับสูง
5.1.4.ขอบขาลงของสัญญาณหมายถึง ขอบขาของสัญญาณที่เปลี่ยนสัญญาณจาก ระดับสูงไปยังระดับต่ำ
5.1.5. ความกว้างของสัญญาณ หมายถึง ระยะทางที่วัดจากกึ่งกลางขอบขาขึ้นไปยังกึ่งกลางขอบขาลงของสัญญาณ
51.6. เส้นฐาน หมายถึง เส้นอ้างอิงของสัญญาณ
ส่วนประกอบที่สำคัญของสัญญาณพัลส์ แสดงรายละเอียดดังรูปที่ 6
clip_image016
(ก)                                                                  (ข)
รูปภาพ5 แสดงส่วนประกอบของสัญญาณพัลส์
(ก) ส่วนประกอบของสัญญาณพัลส์บวก
(ข) ส่วนประกอบของสัญญาณพัลส์ลบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น