วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบตัวเลขที่รู้จักและใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน

ระบบตัวเลขที่รู้จักและใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
              ระบบตัวเลขที่รู้จักและใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คือ เลขฐานสิบ (Decimal Number) ในระบบดิจิตอลยังมีตัวเลขที่สำคัญที่ควรรู้จัก คือ เลขฐานสอง (Binary Number)  เลขฐานแปด ( Octal Number) และเลขฐานสิบหก ( Hexadicimal Number) แสดงตัวเลขของระบบเลขฐานต่างๆ ดังตารางที่ 6.1
ตารางที่ 1 แสดงตัวเลขของเลขฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ และฐานสิบหก
เลขฐาน ตัวเลขพื้นฐาน
ฐานสอง
ฐานแปด
ฐานสิบ
ฐานสิบหก


0, 1
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E, F


         1  ระบบเลขฐานสิบ
ระบบเลขฐานสิบ เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  และ 9
การนับเลขในระบบเลขฐานสิบ หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง 9  และเพิ่มเป็นสองหลัก โดยเพิ่มหลัก ซ้ายมือด้วยเลข 1  ดังตารางที่ 6.2
         2  ระบบเลขฐานสอง
ระบบเลขฐานสอง เป็นระบบตัวเลขที่เหมาะสมกับการทำงานในระบบดิจิตอล และคอมพิวเตอร์ เลขฐานสองประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะเรียกว่า บิต (bit) ซึ่งย่อมาจาก Binary Digit
การนับเลขในระบบเลขฐานสอง หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง 1 และเพิ่มขึ้นเป็น สองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ตารางแสดงการนับแบบเรียงลำดับของเลขฐานสอง, แปด, สิบ และสิบหก
เลขฐานสอง
(Binary)
เลขฐานแปด
(Octal)
เลขฐานสิบ
(Decimal)
เลขฐานสิบหก
(Hexadecimal)
0 0 0 0
1 1 1 1
10 2 2 2
11 3 3 3
100 4 4 4
101 5 5 5
110 6 6 6
111 7 7 7
1000 10 8 8
1001 11 9 9
1010 12 10 A
1011 13 11 B
1100 14 12 C
1101 15 13 D
1110 16 14 E
1111 17 15 F
10000 20 16 10

               3  ระบบเลขฐานแปด
ระบบเลขฐานแปด  เป็นระบบตัวเลขที่มักใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ ตัวเลขในระบบเลขฐานแปด ประกอบด้วยตัวเลข 8 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 
การนับเลขในระบบเลขฐานแปด หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง 7 และเพิ่มขึ้นเป็น สองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1 ดังตารางที่ 6.2
              4  ระบบเลขฐานสิบหก
ระบบเลขฐานสิบหก เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวเลข 16 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E และ F
การนับเลขในระบบเลขฐานสิบหก หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง F และเพิ่มขึ้นเป็น สองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1 ดังตารางที่ 6.2
             5  การเปลี่ยนฐานของระบบตัวเลข  (Converting Number System)
ในระบบตัวเลขที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นสามารถเปลี่ยนฐานของระบบตัวเลขไปมาระหว่างกันได้ เช่น การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นฐานสิบ หรือฐานแปด หรือฐานสิบหก เป็นต้น
              5.1  การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ สามารถหาได้โดยใช้สูตรหรือโดยการคูณ แต่ละตัวเลข ของเลขฐานสองด้วยน้ำหนักที่ตำแหน่งนั้น แล้วนำผลที่ได้มารวมกันจากสูตร
N  =  dn  Rn +…+ d3R3 + d2R2 + d1R1 + d0R0
  N   =   … + 8d3 + 4d2 + 2d1 + 1d0
เมื่อ N  =  เลขฐานสิบ
                         R   =  ค่าเลขฐาน
        d3, d2, d1, d0 มีค่าเป็น 0  หรือ 1
ดังนั้นการเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ ทำได้โดย บวกค่าประจำตำแหน่งของแต่ละตำแหน่งตรงเลขฐานสองที่มีค่าเป็น 1 เท่านั้น
ตัวอย่างที่  1 จงเปลี่ยนเลขฐานสองต่อไปนี้เป็นเลขฐานสิบ
ก)    10111                            ข)    1101101
วิธีทำ
ก)      (10111)2            =      (1  24) + (0  23) + (1  22) + (1  21) + (1  20)
=      16 + 0 + 4 + 2 + 1
=      (23)10
ข)      (1101101)2        =      (1  26) + (1  25) + (0  24) + (1  23) + (1  22) + (0  21)  +(1  20)
=       64 + 32 + 0 + 8 + 4 + 0 + 1
=       (109)10
ถ้าหากเลขฐานสองเป็นเลขทศนิยม สามารถเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ ได้จากสูตร
N     =     d1R-1+  d2R-2 + d3R-3 + d4R-4 +….+ dnR-n
ตัวอย่างที่  2      จงเปลี่ยนเลขฐานสองต่อไปนี้เป็นเลขฐานสิบ
ก)    0.101101
ข)    0.01101
วิธีทำ
ก)      (0.101101)2        =  (1  2-1) + (0  2-2) + (1  2-3) + (1  2-4) + (0  2-5) + (1  2-6)
=   0.5 + 0 + 0.125 + 0.0625 + 0 + 0.01525
=    (0.703125)10
ข)      (0.01101)2           =    (0  2-1) + (1  2-2) + (1  2-3) + (0  2-4) + (1  2-5)
=    0 + 0.25+ 0.125 + 0 + 0.03125
=    (0.40625)10
ตัวอย่างที่  3      จงเปลี่ยนเลขฐานสอง 11101.0111 ให้เป็นเลขฐานสิบ
วิธีทำ
(11101.0111)2 =    (1  24) + (1  23) + (1  22) + (0  21) + (120) +(0  2-1)
+(1  2-2) + (1  2-3) + (1  2-4)
                                     =    16+8+4+0+1+0.25+0.125+0.0625
                                    =    (29.4375)10
การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นฐานสิบ ทั้งจำนวนเต็มและทศนิยมสามารถเขียนอยู่ในรูปของเลขยกกำลังของเลข 2 ของหลักนั้นๆ ดังตารางที่ 6.3
ตารางที่ 6.3 ตารางแสดงค่าเลขยกกำลังของเลข 2
28 27 26 25 24 23 22 21 20 2-1 2-2 2-3 2-4 2-5
256 128 64 32 16 8 4 2 1 0.5 0.25 0.125 0.0125 0.0312
ตัวอย่างที่  4 จงเปลี่ยนเลขฐานสองต่อไปนี้ ให้เป็นเลขฐานสิบ
ก) 1011.101
ข) 11010.1101
วิธีทำ
24 23 22 21 20 2-1 2-2 2-3 2-4 เลขยกกำลังของเลข 2
16  8 4 2 1 0.5 0.25 0.125 0.0625 ค่าของเลขฐานสิบ
1 0 1 1 1 0 1 8+2+1+0.5+0.125=11.625
1 1 0 1 0 1 1 0 1 16+8+2+0.5+0.25+0.0625=   26.8125
      2  การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นฐานสอง
การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง ทำได้โดยการเอาเลขฐานสิบตั้งแล้วหารด้วย 2 เก็บเศษที่เหลือจากการหารไว้ (ซึ่งมีเพียงเลข 1 กับเลข 0 เท่านั้น)  การหารให้หารไปจนกว่าผลลัพธ์จะเป็นเลข 0
การอ่านเลขฐานสองที่จะได้จากการหาร จะอ่านจากเศษตัวสุดท้ายเป็นหลักที่มีความสำคัญมากที่สุด (Most Significant Digit : MSD) และเศษตัวแรกเป็นหลักที่มีความสำคัญน้อยสุด (Least Significant Digit : LSD)
ตัวอย่างที่ 5 จงเปลี่ยน (24)10 เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image001
ดังนั้้น …… (24)10  =   (11000)2
เราสามารถตรวจเช็คคำตอบได้โดยการเปลี่ยนเลขฐานสองกลับมาเป็นเลขฐานสิบ
(11000)2 =   (1  24) + (1  23) + (0  22) + (0  21) + (0  20)
                                =   16 + 8 + 0 + 0 + 0
                                =   (24)10

ตัวอย่างที่ 6 จงเปลี่ยน (37)10 เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image002
ดังนั้น …… (37)10  =   (100101)2
ตัวอย่างที่ 7 จงเปลี่ยน (355)10 เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image003
ดังนั้น …… (355)10  =   (101100011)2
                  3  การเปลี่ยนทศนิยมเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
การเปลี่ยนทศนิยมฐานสิบเป็นฐานสองนั้น ให้เอาทศนิยมฐานสิบตั้งแล้วเอา 2 คูณ ตัวทดที่ได้ (หน้าจุดทศนิยม) ซึ่งเป็นเลข 0 หรือ 1 คือ เลขฐานสอง การคูณจะคูณไปเรื่อยๆ จนผลลัพธ์มี ทศนิยมเป็น .0000
ตัวอย่างที่ 8 จงเปลี่ยน (0.5625)10 เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image004
คำตอบ…..     (0.5625)10   =   (0.1001)2
ตรวจสอบคำตอบ…..
(0.1001)2 =    (1  2-1) + (0  2-2) + (0  2-3) + (1  2-4)
=    0.5 +   0.0625
                                     =    (0.5625)10
ตัวอย่างที่ 9 จงเปลี่ยน (0.65625)10 เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image005
คำตอบ…..     (0.65625)10   =   (0.10101)2
ตรวจสอบคำตอบ…..
(0.10101)2 =    (1  2-1) + (0  2-2) + (1  2-3) + (0  2-4) + (1  2-5)
   =    0.5 +   0.125   +  0.312
  =    (0.65625)10
ตัวอย่างที่ 10  จงเปลี่ยนเลข (45.8125)10 ให้เป็นเลขฐานสอง
วิธีทำ
clip_image007 จำนวนเต็ม…..
ทศนิยม…..
clip_image008
ทศนิยมอ่านได้ …..  0.1101
ดังนั้น …..  (45.8125 )10    =   (101101.1101)2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น