วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

วงจรเข้ารหัส วงจรถอดรหัส และภาคแสดงผล

วงจรเข้ารหัสทำหน้าที่ในการเปลี่ยนระดับของแรงดัน หรือของการกดสวิตช์ มาเป็นสัญญาณลอจิกตามรหัสที่ต้องการ
วงจรถอดรหัส ซึ่งทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรหัส จากรหัสหนึ่งไปเป็นอีกรหัสหนึ่ง เช่นเปลี่ยนจากรหัสบีซีดี 8421 ให้เป็นรหัสที่ใช้ในภาคแสดงผล
ในส่วนของภาคแสดงผลจะกล่าวถึงภาคแสดงผลที่ใช้แสดงผลตัวเลขโดยใช้ LED เท่านั้น เพราะส่วนใหญ่การแสดงผลทางด้านดิจิตอลใช้ตัวแสดงผลแบบ LED ชนิดต่างๆ
ตัวอย่างการใช้งานวงจรเข้ารหัส วงจรถอดรหัส และภาคแสดงผลที่เห็นชัดเจน ได้แก่ เครื่องคำนวณ แสดงดังบล็อกไดอะแกรมรูปที่ 1
image
รูปที่ 1  แสดงบล็อกไดอะแกรมของเครื่องคำนวณ
 
1 วงจรเข้ารหัส (Encoder)
วงจรเข้ารหัส คือ วงจรที่ทำหน้าที่แปลงตัวเลข ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ ซึ่งอยู่ในรูปของระดับแรงดันให้เป็นสัญญาณลอจิกตามรหัสที่ต้องการ แสดงดังรูปที่ 2
image
รูปที่ 2  แสดงบล็อกไดอะแกรมของวงจรเข้ารหัส
 


ตัวอย่างที่ 1 จงออกแบบวงจรเข้ารหัส เพื่อรับข้อมูลจากการกดสวิตช์ 4 ตัว ให้เป็นรหัส ไบนารีขนาด 2 บิต ตามบล็อกไดอะแกรมรูปที่ 3
กำหนดให้ สวิตซ์ที่ใช้เป็นชนิดปกติ ไม่กดเป็นลอจิก “0” ถ้ากดเป็นลอจิก “1”
image
รูปที่ 3 แสดงบล็อกไดอะแกรมของวงจรเข้ารหัสขนาด 2 บิต
 
วิธีทำ จากรูปที่ 3   เขียนตารางความจริงได้ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 13.1 ตารางความจริงของวงจรเข้ารหัสขนาด 2 บิต
 
อินพุต เอาท์พุต
W X Y Z KS B A
0 0 0 0 0 0 0
1 0 0 0 1 0 0
0 1 0 0 1 0 1
0 0 1 0 1 1 0
0 0 0 1 1 1 1
จากตารางความจริง เขียนเป็นสมการลอจิกได้ดังนี้
A                =       X+Z
B                =       Y+Z
         KS               =     W+X+Y+Z
จากสมการของ A , B และ KS นำมาเขียนวงจรได้ดังรูปที่ 4
image
รูปที่ 4  วงจรเข้ารหัส 2 บิต
จากตัวอย่างที่ 1  เมื่อจำนวนสวิตซ์อินพุตมีจำนวนมากขึ้น เช่น ถ้ามีสวิตซ์จำนวน 8 ตัว และกำหนดให้เป็นชนิดที่เมื่อไม่กดสวิตช์เป็นลอจิก “0” กดสวิตช์เป็นลอจิก “1” จะสามารถเขียนตารางความจริง สมการลอจิก และวงจรได้ดังนี้
ตารางที่ 2  ตารางความจริงของวงจรเข้ารหัสที่มีสวิตซ์อินพุต 8 ตัว
เอาต์พุต
อินพุตสวิตช์
KS
B
C
A
ไม่กดสวิตช์
0
0
0
0
S
1
0
0
0
S1
1
0
0
1
S2
1
0
1
0
S3
1
0
1
1
S4
1
1
0
0
S5
1
1
0
1
S6
1
1
1
0
S7
1
1
1
1

จากตารางความจริงเขียนสมการแบบมินเทอมของเอาต์พุต KS , C , B และ A ได้ดังนี้
                                                KS   =       S0+S1+S2+S3+S4+S5+S6+S7
                                                 C      =       S4+S5+S6+S7
                                                B      =       S2+S3+S6+S7
                                                  A  =       S1+S3+S5+S7
จาก สมการเขียนวงจรลอจิกได้ดังนี้
image
รูปที่ 5  วงจรเข้ารหัสที่มีสวิตช์อินพุต 8 ตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น