วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

วงจรบวกเลข,เปรียบเทียบ

วงจรบวกลบเลขและวงจรเปรียบเทียบ เป็นการนำข้อมูล 2 จำนวนมาบวก ลบหรือ เปรียบเทียบกัน เป็นหลักการเบื้องต้นของหน่วยคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์และลอจิกในไมโครโปรเซสเซอร์
          1. วงจรบวกเลขไบนารี
วงจรบวกเลขไบนารีเป็นวงจรที่นำเลขไบนารี 2 จำนวนมาบวกกัน วงจรที่ใช้ในการบวกเลขไบนารี มี 2 แบบคือ
วงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า (Half Adder : H.A.)  และวงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า (Full Adder : F.A.)
1.1 วงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า
วงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า เป็นวงจรบวกเลขไบนารี 1 บิต 2 จำนวน แสดงดังบล็อกไดอะแกรม รูปที่ 11.1
clip_image002[4]
รูปที่ 1  บล๊อกไดอะแกรมวงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า
กำหนดให้
A         =    ตัวตั้ง B         =    ตัวบวก
S         =    ผลลัพธ์ CO       =    ตัวทดไปยังหลักที่สูงกว่า
ตารางที่ 1 ตารางความจริงวงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า
 
เขียนสมการเอาต์พุต S และ CO ได้ดังนี้
S     =  clip_image002[6]
=   clip_image004
CO clip_image006
จากสมการนำไปเขียนเป็นวงจรได้ดังรูปที่ 11.2
clip_image002[10]
รูปที่ 2 วงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า
1.2 วงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า
วงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้าเป็นวงจรบวกเลขไบนารีหลายบิต 2 จำนวน โดยนำตัวทดจากหลักที่ต่ำกว่าเข้ามารวมด้วย แสดงดังบล๊อกไดอะแกรมรูปที่ 11.3
clip_image002[12]
รูปที่ 3 บล๊อกไดอะแกรมวงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า
กำหนดให้
                                  A    =    ตัวตั้ง B    =    ตัวบวก Ci   =    ตัวทดเข้าจากหลักที่ต่ำกว่า
                                  S    =    ผลบวก CO  =    ตัวทดออกไปยังหลักที่สูงกว่า
ตารางที่ 2 ตารางความจริงวงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า
 
จากตารางความจริง เขียนสมการของเอาต์พุต S และ CO ดังนี้
                            S    =    clip_image002[14]
                            CO  =  clip_image004[4]
ลดรูปสมการของเอาต์พุต S จะได้
                            S    =  clip_image002[15]
                                  =   clip_image007
                                  =   clip_image009
                                  =    clip_image011
ลดรูปสมการของเอาต์พุต CO จะได้
                            CO  =   clip_image004[5]
                                  =  clip_image014
                                  =   clip_image016
                                  =    clip_image018
จากสมการนำไปเขียนเป็นวงจรได้ดังรูปที่4
clip_image002[18]
รูปที่ 4  วงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า
ถ้าต้องการบวกเลขไบนารีมากกว่า 1 บิต ตัวอย่างเช่นถ้าต้องการบวกเลขไบนารีจำนวน 4 บิต สามารถใช้วงจรบวกเลขไบนารีแบบไม่มีตัวทดเข้า และวงจรบวกเลขไบนารีแบบมีตัวทดเข้า ร่วมกันตามบล็อกไดอะแกรมรูปที่ 5
clip_image002[20]
clip_image002[22]
รูปที่ 5 บล็อกไดอะแกรมของวงจรบวกเลขไบนารีขนาด 4 บิต
2   วงจรลบเลขไบนารี (Binary Subtraction)
                 วงจรลบเลขไบนารีเป็นวงจรหาผลต่างของเลขไบนารี 2  จำนวน วงจรที่ใช้ในการลบเลขไบนารี มี 2 แบบ คือ วงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้า (Half Subtractor :H.S.) และวงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า (Full Subtractor :F.S.)
2.1 วงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้า
วงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้าเป็นวงจรลบเลขไบนารี 1 บิต 2 จำนวน แสดงดัง บล๊อกไดอะแกรมรูปที่ 11.6
clip_image002[24]
รูปที่ 6 บล๊อกไดอะแกรมของวงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้า
กำหนดให้
                                   A         =    ตัวตั้ง
                                   B         =    ตัวลบ
                                   D        =    ผลต่าง
                                   BO       =    ตัวยืมไปยังหลักที่สูงกว่า
 
ตารางที่ 3 แสดงตารางความจริงของวงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้า
เขียนสมการเอาต์พุต D และ BO ได้ดังนี้
                                          D      = clip_image002[26]
                                                 =  clip_image004[8]
                                          BO    =  clip_image006[4]
จากสมการ D และ BO นำไปเขียนเป็นวงจรได้ดังรูปที่ 7
clip_image002[28]
รูปที่ 7 วงจรลบเลขไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้า

2.2  วงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า
วงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้าเป็นวงจรลบเลขไบนารีหลายบิต 2 จำนวน โดยนำตัวยืมจากหลักที่ต่ำกว่ามาพิจารณาด้วย แสดงดังบล็อกไดอะแกรมรูปที่ 11.8
clip_image002[30]
รูปที่ 8 บล๊อกไดอะแกรมของวงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า
เมื่อ
                                  A    =    ตัวตั้ง
                                  B    =    ตัวลบ
                                  Bi   =    ตัวยืมเข้าจากหลักที่ต่ำกว่า
                                  D    =    ผลต่าง
                                  BO  =    ตัวยืมออกไปยังหลักที่สูงกว่า
วงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้าจะเป็นวงจรที่มีตัวตั้งเพียงตัวเดียวคือ A แต่มีตัวลบ 2 ตัว ได้แก่ B และ Bi
ตารางที่ 4  ตารางความจริงของวงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า
 
สมการลอจิก
                            D    =  clip_image002[32]
                            Bo   =   clip_image004[10]
จากสมการนำไปเขียนวงจร ได้ดังรูปที่ 11.9
clip_image002[34]
รูปที่ 9  วงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า
ถ้าต้องการลบเลขไบนารีมากกว่า 1 บิต ตัวอย่างเช่นถ้าต้องการลบเลขไบนารีจำนวน 4 บิต สามารถใช้วงจรลบเลขแบบไบนารีแบบไม่มีตัวยืมเข้าและวงจรลบเลขไบนารีแบบมีตัวยืมเข้า ได้ตามบล็อกไดอะแกรมต่อไปนี้
clip_image002[36]
clip_image002[38]
รูปที่ 10 บล็อกไดอะแกรมของวงจรลบเลขไบนารีขนาด 4 บิต
3  วงจรเปรียบเทียบ ( Comparator )
วงจรเปรียบเทียบ จะทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสอง 2 จำนวน เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลจำนวนหนึ่งมีค่า มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับอีกจำนวนหนึ่งหรือไม่ โดยสามารถเปรียบเทียบค่าได้ตั้งแต่ 1 บิต ไปจนถึงหลาย ๆ บิตได้
      3.1 วงจรเปรียบเทียบเลขฐานสองขนาด 1 บิต
clip_image002[40]
รูปที่ 11 บล็อกไดอะแกรมของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 1 บิต
จากรูปที่  11.11  เป็นบล็อกไดอะแกรมของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 1 บิต โดย ข้อมูลที่อินพุต A จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อินพุต B ผลการเปรียบเทียบจะปรากฏที่เอาต์พุต 3 เอาต์พุตได้แก่ เอาต์พุต Y1 ,Y2 และ Y3 แสดงตารางความจริงได้ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 ตารางความจริงของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 1 บิต















จากตารางความจริงสามารถเขียนเป็นสมการลอจิกได้ดังนี้
                                 Y1  =  clip_image002[42]
                                  Y2  =  clip_image004[12] หรือ clip_image006[6] หรือ clip_image008
                                  Y3  =clip_image010
clip_image002[44]
รูปที่ 12 วงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 1  บิต
3.2 วงจรเปรียบเทียบเลขฐานสองขนาด 2 บิต
clip_image002[46]
รูปที่ 13 บล็อกไดอะแกรมของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 2 บิต
จากบล็อกไดอะแกรมของวงจรเปรียบเทียบเลขฐานสองขนาด 2 บิต เขียนตารางความจริงได้ดังนี้
 
ตารางที่ 6 ตารางความจริงของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 2 บิต
สมการลอจิกของวงจรเปรียบเทียบข้อมูลเลขฐานสองขนาด 2 บิต
                   (A = B)     =   clip_image002[48]
                   (A > B)     =  clip_image004[14]
                   (A < B)     =   clip_image006[8]
3.3 ไอซีเปรียบเทียบข้อมูลเบอร์ 7485 (4-Bit Magnitude Comparator)
ไอซีเปรียบเทียบข้อมูลเบอร์ 7485 เป็นไอซีเปรียบเทียบข้อมูลขนาด 4 บิต นอกจากจะมีขา อินพุตสำหรับป้อนข้อมูลที่ต้องการนำมาเปรียบเทียบกันขนาด 4 บิตแล้วยังมีขาอินพุตสำหรับต่อเรียงลำดับ (Cascading Input)  อีก 3 ขา ได้แก่ A>B , A=B และ A<B ใช้ในกรณีที่มีการใช้ไอซีเปรียบเทียบมากกว่า 1 ตัวเมื่อทำการเปรียบเทียบข้อมูล สามารถนำเอาขาเอาต์พุตทั้งสามของหลักที่ต่ำกว่า มาป้อนเข้าที่อินพุตทั้งสามนี้ แสดงบล็อกไดอะแกรมและการจัดขา ดังรูปที่ 14
clip_image002[50]
clip_image002[52]
รูปที่ 14 บล็อกไดอะแกรมและการจัดขาของไอซีเบอร์ 7485


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น